เปิดประตู..สู่อาชีพงานช่าง

ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตำรายาพื้นบ้าน ๓/๒

ยาแก้อหิวาตกโรค
ขนานที่ ๑. ให้นำผลมะกรูดมาฝานเอาเฉพาะผิวประมาณ ๑ ซีก กับพริกไทยอ่อน ประมาณ ๒๐-๓๐ เม็ด
นำมาตำให้ละเอียด ผสมกับสุราครึ่งถ้วยชา ใช้รับประทานทันทีขณะที่ท้องเดิน จะทำให้อาการหยุดชะงักทันที
     

ขนานที่ ๒. ให้นำเนื้อมะขามเปียกผสมเกลือ รับประทานพอประมาณ มีสรรพคุณจะทำให้ถ่ายพิษออกมา

    

ขนานที่ ๓. ให้เอาเมล็ดในลูกกระบูนกับการบูร อย่างละพอประมาณ นำมาตำผสมกับน้ำปูนใส (ปูนกินหมาก) ใช้รับประทานทีละจิบ อย่างต่อเนื่อง จะทำให้อาการทุเลาลงทันที

   

ขนานที่ ๔. ให้นำเปลือกมังคุด (สดหรือแห้งก็ได้) กับการบูร อย่างละเท่าๆกัน ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส (ปูนกินหมาก) ใช้รับประทานทีละน้อย จะทำให้อาการชุดชะงักนักแล

   

ขนานที่ ๕. ให้ชงกาแฟดำ ๑ ถ้วยชา ให้แก่ๆ จนข้น ไม่ต้องใส่นมและน้ำตาล ให้ผู้ป่วยรับประทานทันที
กรณีผู้ป่วยหมดสติ ให้พยายามงัดขากรรไกรให้ดื่มจนยาหมดถ้วย เมื่ออาการบรรเทา ให้รับประทานยาระบายอ่อนๆ เพื่อให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ



หมายเหตุ ข้อมูลอ้างอิงจาก หนังสือ ตำรายาพื้นบ้าน อ.กายสิทธิ์ พิศนาคะ
รูปภาพประกอบจากเว็ปไซต์ต่างๆ
อ.กตัญญู ชนะชัย เรียบเรียง

ตำรายาพื้นบ้าน ๓ (ยาแก้อหิวาตกโรค)

อหิวาตกโรค




อหิวาตกโรค (cholera) เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Vibrio cholerae) เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน เชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษออกมา ทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็กทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำสีซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำ และเกลือแร่อย่างรวดเร็ว และรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้พบเป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดระบาดขึ้นเป็นครั้งคราวในอัฟริกา เอเชีย ยุโรปตะวันออก และอินเดีย เป็นโรคนำเข้าของประเทศสหรัฐอเมริกา และยุโรปตะวันตก
สาเหตุ

  1. กินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารกระป๋องที่เสียแล้ว
  2. ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Vibrio cholerae O group 1 (ไบโอทัยป์ eltor หรือ imageclassical)
  3. สายพันธุ์ Vibrio cholera non O group 1 จะทำให้เกิดอาการเหมือนโรคอหิวาต์ระบาดได้อย่างจำกัด บางครั้งอาจจะมีไข้ และอุจจาระมีมูกปนเลือด แต่ไม่เคยเกิดการระบาดใหญ่
  4. เชื้อต้นเหตุ เกิดจากเชื้อบัคเตรีรูปแท่งที่มีลำตัวโค้งงอ ที่ชื่อว่า Vibrio cholerae แบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแท้หรือคลาสสิก และชนิดอ่อนหรือเอลทอร์
  5. ในอุจจาระของผู้ป่วยโรคอหิวาต์จำนวน 1 ซีซี จะมีเชื้ออหิวาต์ 1 พันล้านตัว ในอุจจาระของผู้ที่มีเชื้ออหิวาต์ แต่ยังไม่มีอาการถ่ายเหลวขนาดน้ำหนัก 1 กรัม จะมีเชื้อโรคดังกล่าวประมาณ 1,000 ตัว โดยเชื้ออหิวาต์เพียง 2 ตัว หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพชื้นๆ จะสามารถแบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 9 ชั่วโมง สามารถเพิ่มจำนวนได้มากถึง 137,000 ล้านตัวระยะฟักตัวประมาณ 2-3 วัน แต่อาจพบได้ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมง ถึง 5 วัน
    image
โปรดติดตามวิธีรักษาตามตำรายาพื้นบ้านนะครับ

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตำรายาพื้นบ้าน ๒

หมวดที่ ๑ ตอนที่ ๒ ยารักษาไฟลวก-น้ำร้อนลวก


บทนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงการรักษาแผลที่เกิดจากไฟลวก หรือน้ำร้อนลวก

ขนานที่ ๑.ให้นำเหล้าขาว ๑ ส่วน น้ำมันมะพร้าว ๑ ส่วน น้ำปูนใส (ปูนกินหมาก) ๑ ส่วน
นำมาผสมกันแล้วกวนให้เข้ากันจนมีลักษณะคล้ายน้ำนมข้น แล้วใช้สำลีพันปลายไม้
จุ่มตัวยาทาให้ทั่วบริเวณที่เป็นแผล พยายามอย่าให้โดนหนังถลอก
ยาขนานนี้เป็นยาของบทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ดั่งนั้นเวลาที่ผสมยา
ท่านให้บริกรรมภาวนา ตัวยาจะเกิดผลดีนักแล

ขนานที่ ๒. ให้เอาน้ำมะพร้าวแห้งหรือมะพร้าวห้าว ๑ ส่วน + น้ำฝน ๑ ส่วน + เหล้าขาว ๑ ส่วน
ผสมกับปูนแดงเพียงเล็กน้อย แล้วกวนจนข้นคล้ายน้ำนม การรักษาเหมือนกันกับขนานที่ ๑

ขนานที่ ๓. น้ำมะพร้าวห้าว ๒ ส่วน น้ำปูนใส ๒ ส่วน น้ำมันยาง ๑ ส่วน นำมาผสมกันจนข้น
ใช้สำลีชุบทาบริเวณที่เกิดแผลให้ทั่วอย่างระมัดระวัง ทุกวัน

  

ขนานที่ ๔. ให้นำเอาเม็ดมะขามเปรี้ยวมาคั่วให้ไหม้ แล้วกระเทาะเอาแค่เปลือกบดให้ละเอียด
ผสมกับน้ำกะทิมะพร้าวก้นกะลา ห้ามใส่น้ำ ให้พอข้นแล้วไปทาบริเวณแผลทุกวัน จนหาย

 

ขนานที่ ๕. ให้นำเอาข้าวเปลือกข้าวเหนียวประมาณ ๓ กำมือ ใส่กระบอกไม้ไผ่ให้เต็มปล้อง
แล้วเผาไฟให้ไหม้ แล้วเอาเฉพาะข้าวเหนียวที่ไหม้มาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำมันมะพร้าวพอสมควร
ใช้ขนไก่ที่สะอาดหรือสำลีชุบทาบริเวณแผล ทุกวัน
   

ขนานที่ ๖. ให้นำเอาผักบุ้งไทยที่อยู่ตามทุ่ง ตามบึง ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำตาลโตนด
แล้วพอกบริเวณแผล ถ้าไฟไหม้ลามทั้งตัว ให้พอกบริเวณหน้าอกหรือแผ่นหลังเท่านั้น

 
      

ขนานที่ ๗.ให้นำเอาเจตมูลเพลิงสด ๗ ท่อน พริกชี้ฟ้าสด ๗ เม็ด ข่าสด ๓ ท่อน
ใบพลูกินหมากสด ๗ ใบ ตัวยาทั้ง ๔ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว
แล้วทาบริเวณแผลทุกวัน

หมายเหตุ ข้อมูลอ้างอิง จากหนังสือ ตำรายาพื้นบ้าน อ.กายสิทธ์ พิษนาคะ
ขอบคุณรูปภาพจากเว็ปไซต์ต่างๆ
อ. กตัญญู ชนะชัย เรียบเรียง
(๒๙/๐๗/๕๕)

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตำรายาพื้นบ้าน

หมวดที่ ๑ ยาบำบัดอาการเจ็บป่วยเร่งด่วน


อุบัติเหตุที่เกิดในชีวิตประจำวันที่รีบเร่งจนขาดการระมัดระวัง คงจะหนีไม่พ้น
การได้รับบาดเจ็บที่มือ อย่างเช่น ถูกน้ำร้อนลวกอย่างที่ทุกคนเคยเจอ
แน่นอนครับหลายคนอาจจะตกใจเมื่อเป็นเช่นนี้ ตั้งสติให้ดีแล้วปฏิบัติตามดังนี้

๑.อย่าพึ่งให้แผลถูกน้ำที่เย็นไป หรือใช้ผ้าเช็ด ไม่ควรทำอย่างนั้น
ให้เอาน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู เทใส่ผ้าที่นุ่มหรือสำลีชะโลมให้ทั่วบริเวณที่ถูกไฟ
หรือน้ำร้อนลวก จะบรรเทาและดับพิษปวดแสบ ปวดร้อนได้

 

๒.หลังจากนั้นก็นำใบเสลดพังพอนตัวเมีย (มีลักษณะใบแหลมคล้ายหอก หน้าใบเป็นมัน)
นำมาตำให้ละเอียดผสมกับสุรา (เหล้าขาว) ใช้ประคบหรือพอกบริเวณที่ถูกไฟลวกหรือน้ำร้อนลวก
อีกตำราหนึ่งที่เร่งด่วนก็คือใช้ยาสีฟันยี่ห้อใดก็ได้บีบราดลง แล้วนวดเบาๆจะบรรเทาความปวดแสบ



๓.นำหัวหอมแดงล้างให้สะอาดแล้วโขลกให้ละเอียด แล้วพอกตรงบริเวณแผลไฟลวก
จะทำให้ควมปวดแสบค่อยจางหายไป จากนั้นก็ต้องรักษาตามลักษณะที่เกิดเป็นขั้นตอนต่อไป

หมายเหตุ อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ ตำรายาพื้นบ้านและวิธีการรักษาโรคต่างๆ อ.กายสิทธิ์ พิศนาคะ
ขอขอบคุณรูปภาพประกอบจากเว็ปไซต์ต่างๆ